Back

ประวัติศาสตร์สมาคมกายภาพบำบัด

ดัดแปลงเนื้อหาจากหนังสือ 20 ปี กายภาพบำบัด เขียนโดย รศ.สุรศักดิ์ ศรีสุข

วิชาชีพกายภาพบำบัดได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.. 2508 โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฟื่อง สัตย์สงวน ก่อตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัดขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ชื่อในขณะนั้น ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล) และได้มีบัณฑิตสาขากายภาพบำบัด ออกมารับใช้สังคมเป็นรุ่นแรกในปี พ.. 2510 

ต่อมานักกายภาพบำบัดได้ก่อตั้งชมรมกายภาพบำบัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2513 โดยมี นางสาวกานดา ใจภักดี เป็นประธานชมรมท่านแรก เพื่อพัฒนาและเผยแพร่วิชาชีพกายภาพบำบัด ทางมีรายการยาว 30 นาทีออกอากาศทางสถานีวิทยุ ท... เดือนละ 1 ครั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกายภาพบำบัดสู่ประชาชน และกรรมการสมาคมฯได้ดำเนินการขอเสนอจัดตั้งสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีนางสาวกานดา ชวพัฒนากุล (ถึงแก่กรรม) นักกายภาพบำบัดผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการติดต่อประสานงานจนสามารถจัดตั้งสมาคมฯ ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ..2516   

ในสมัยแรก (.. 2516-2517)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประโยชน์ บุญสินสุข นายกสมาคมฯท่านแรก ได้เริ่มติดต่อองค์กรต่างประเทศ เพื่อหาข้อมูลตรียมพร้อมสำหรับขึ้นทะเบียนนักกายภาพบำบัด ส่งผู้แทนสมาคมฯเข้าร่วมประชุมสหพันธ์กายภาพบำบัดโลก (World Confederation for Physical Therapy: WCPT) ครั้งที่ 7 ที่ประเทศคานาดา เพื่อการประกอบโรคศิลปะสาขากายภาพบำบัด นอกจากนั้นท่านยังได้เริ่มจัดพิมพ์วารสารกายภาพบำบัด ออกเผยแพร่สู่สมาชิก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเผยแพร่งานด้านวิชาการของวิชาชีพกายภาพบำบัด 

ปีพ.. 2517-2518 รองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ศรีสุข ได้รับตำแหน่งนายกสมาคมฯ โดยดำเนินงานมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์วิชาชีพ สู่สังคมทั้งการออกรายการความรู้ทางกายภาพบำบัดทางสื่อวิทยุและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งจัดส่งอาสาสมัครไปช่วยงานที่ศูนย์เด็กพิการปากเกร็ด จัดงานหาทุนเข้าสู่สมาคมฯ และได้ร่วมกับโรงเรียนกายภาพบำบัดจัดตั้งอนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตกายภาพบำบัด 

ปี พ.. 2518- 2519 นายกสมาคมฯ ท่านเดิมรับหน้าที่ต่อ และริเริ่มการเสนอชื่อสมาคมฯ ให้ร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์กายภาพบำบัดโลก (World Confederation of Physical Therapy (WCPT)) จนกระทั่งเป็นผลสำเร็จ โดย WCPT ได้มีหนังสือรับรองสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกในปีพ.. 2521นอกจากนั้นได้เผยแพร่งานด้านวิชาการ โดยจัดส่งวารสารกายภาพบำบัดไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทางการแพทย์ และนักเรียน นักศึกษาได้รู้จักวิชาชีพนี้มากยิ่งขึ้น ในปี พ.. 2519-2520 นายสุดสาคร พุดโธ รับตำแหน่งนายกสมาคมฯ และได้พัฒนาวิชาชีพสืบต่อมาทั้งด้านกฎหมาย วิชาการและการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน 

 

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด
ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 38 ดังเนื้อความต่อไปนี้ …

โดยที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินพิจารณาเห็นว่า การควบคุมการประกอบโรคศิลปะในปัจจุบัน มีสาขาในการประกอบโรคศิลปะเพิ่มขึ้นคือ สาขากายภาพบำบัด และสาขาเทคนิคการแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมการประกอบโรคศิลปะได้เป็นไปอย่างรัดกุมและเหมาะสม สมควรแก้คำนิยามคำว่าโรคศิลปะและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในกฎหมายเสียใหม่ให้ สอดคล้องกัน คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจึงมีคำสั่งดังนี้ ….

“(6) กายภาพบำบัด คือ การกระทำในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อบำบัด ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูการเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการของร่างกาย หรือจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกาย หรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกระทำด้วยวิธีการต่างๆ ดังกล่าว ตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือการกระทำอื่นที่รัฐมนตรีประกาศเป็นวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศเป็น เครื่องมือกายภาพบำบัด

ในปี พ.. 2520-2522 นายจิตตินทร์ จินดาดวงรัตน์ นายกสมาคมฯ พัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดให้ก้าวหน้าไปตามลำดับในทุกด้าน ประชาชนเริ่มมีความเข้าใจในคำว่ากายภาพบำบัดมากขึ้น คำว่าหมอนวดค่อยๆลดหายไป ระหว่างนั้นได้มีประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด ดังนี้

ข้อ 18 ทวิ ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขากายภาพบำบัดจะปฏิบัติต่อผู้ป่วยได้ต่อเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้การวินิจฉัยโรคแล้ว และเห็นสมควรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยให้คำแนะนำเป็นหนังสือแสดงสาเหตุของโรคและแนวทางในการรักษาแก่ผู้ประกอบ โรคศิลปะ ในสาขากายภาพบำบัด ทั้งนี้ ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขากายภาพบำบัดได้แต่เฉพาะยาที่ใช้ในวิธีทางกายภาพ บำบัด ซึ่งไม่ใช่ยากินหรือยาฉีด” 

ในปี พ.. 2522-2527 นายธงสิทธิ์ ตีรณศักดิ์ นายกสมาคมฯติดต่อกัน 5 สมัย ทำให้เกิดความก้าวหน้าของวิชาชีพกายภาพบำบัดมากขึ้น ทุกด้าน อาทิเช่น มีการย้ายที่ทำการสมาคมฯ มาอยู่ที่โรงเรียนกายภาพบำบัด (ตึกสลากกินแบ่งชั้น 4) อย่างถาวร  มีการเผยแพร่ความรู้โดยนักกายภาพบำบัดในรายการปัญหาชีวิตและสุขภาพ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 รายการวิทยุ ท... ทุกวันอังคาร เวลา 08.35-09.00 . ซึ่งท่านผู้ฟังมีความสนใจรับฟังมากพอสมควรและมีจดหมายมาสอบถามปัญหาต่างๆ อยู่เสมอ ด้านกฎหมายสมาคมฯได้ร่วมพิจารณาเกี่ยวกับขอบเขต สิทธิ และหน้าที่ ตลอดจนหลักสูตรการศึกษาของเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด

ด้านงานวิเทศสัมพันธ์ นายธงสิทธิ์ได้ร่วมกับนายกสมาคมกายภาพบำบัดของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียรวม 6 ประเทศ ก่อตั้งสหพันธ์กายภาพบำบัดแห่งเอเชีย (Asian Confederation for Physical Therapy: ACPT) สมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศไทย, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น) และประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระหว่างประเทศแห่งเอเชียครั้งแรก  นอกจากนั้นคณะกรรมการบริหารสหพันธ์กายภาพบำบัดโลก (WCPT) ได้ให้เกียรติเลือกสถานที่ที่กรุงเทพมหานคร เป็นที่ประชุมการบริหารงานเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารของ WCPT ในสมัยนั้น นายธงสิทธิ์ ตีรณศักดิ์ ผู้แทนจากประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานกรรมการบริหารคนที่ 3 เป็นผลทำให้วิชาชีพกายภาพบำบัดของประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับสากล นอกจากนี้ WCPT ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลีย Miss Roberta Shepherd มาเปิดการอบรมเรื่อง Cerebral Palsy ในปี พ.. 2525 ทำให้นักกายภาพบำบัดไทย ได้พัฒนาความรู้ด้านการรักษาผู้ป่วยระบบประสาท